Article : การเลือกใช้งานรีเลย์ (Relay)
top of page

การเลือกใช้งานรีเลย์ (Relay)

2.jpg
1.png

            รีเลย์ (relay) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าเปรียบเสมือนสวิตซ์สำหรับตัดต่อในวงจรควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งหลักการทำงานของรีเลย์จะทำงานโดยการป้อนไฟฟ้าให้กับขดลวด เพื่อเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้เป็นสนามแม่เหล็กไปใช้สำหรับดูดหน้าสัมผัส (contact) ให้เปลี่ยนทิศทางการไหลของไฟฟ้า

ส่วนประกอบของ Relay

  1. ขดลวด (coil) ทำหน้าที่รับแรงดันไฟฟ้าและเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็ก เพื่อไปดูดหน้าสัมผัส

  2. หน้าสัมผัส (contact) ทำหน้าที่เหมือนสวิทซ์ เพื่อกำหนดทิศทางการจ่ายไฟ

image0.jpeg

ประเภทของรีเลย์(relay)

  1. เพาเวอร์รีเลย์ (Power Relay)

  2. แลทซิ่งรีเลย์ (Latching Relay)

  3. เซฟตี้รีเลย์ (Safety Relay)

  4. ไทม์เมอร์รีเลย์ (Timer Relay)

  5. เทอร์มินอลรีเลย์ (Terminal Relay)

  6. สเต็ปปิ้งรีเลย์ (Stepping Relay)

การเลือกใช้งานรีเลย์

  1. แรงดันของขดลวดไฟฟ้า คือแรงดันไฟที่จ่ายให้กับขดลวดเพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำ เช่น 24VDC, 220VAC

  2. การทนกระแสของหน้าสัมผัส คือกระแสสูงสุดที่หน้าสัมผัสทนได้ เช่น 5A 220VAC

  3. จำนวนหน้าสัมผัส คือจำนวนชุดของหน้าสัมผัส(contact) เช่น 2 คอนแทค(2 NO/2NC), 4คอนแทค(4NO/4NC)

          ทางบริษัทนิวแม็ก จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายรีเลย์แบรนด์ Schneider รุ่น RXM miniature plug-in relay

 

RXM ปลั๊กอินรีเลย์ รุ่นประหยัด

  1. มีให้เลือกทั้งแบบ 2คอนแทค และ 4คอนแทค

  2. ทนกระแสได้สูงสุดถึง 5 แอมป์(A)

  3. มีแถบบอกสถานะการทำงานทางกล

  4. มีไฟ LED แสดงสถานะการทำงาน (ขึ่นอยู่กับรุ่นที่เลือกใช้)

  5. ใช้งานร่วมกับขาเสียบ 8pins และ 14pins ทั่วไปได้

RXM4LB2BD  4 คอนแทค แบบ LED ไฟเลี้ยงคอย 24VDC

ฟห.jpg

ตัวบอกสถานะแบบทางกล

LED บอกสถานะ

QR-ATM.png

แผนก  Automation

 

Email : sales.atm@pneumax.co.th

โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ 714 - 718

Line-ATM_Artboard 33.png
bottom of page