Article : ขั้นตอนการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ (Inverter)
top of page

ขั้นตอนการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ (Inverter)

download (1).jpg

Altivar 312

Altivar 12

Altivar 32

Altivar 71

Altivar 61

ขั้นตอนการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ (Inverter)

ขั้นตอนที่ 1  ลักษณะการทำงานเชิงกล

     -  แรงบิดไม่คงที่ (Variable Torque Load) เช่น พัดลม ปั๊มน้ำ 
     -  แรงบิดคงที่ (Constant Torque Load) เช่น ลิฟท์ คอนเวเยอร์

ขั้นตอนที่ 2 หาข้อมูลมอเตอร์จากเนมเพลท

     หาค่ากระแสและกำลังมอเตอร์เมื่อขับโหลดเต็มกำลัง การเลือกขนาดของ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) จะดูจากขนาดกระแสและกำลังของมอเตอร์ แต่กระแสที่พิกัดนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อใช้ที่แรงดัน..แตกต่างจากเนมเพลทหรือความเร็วใช้งานต่างจากที่ระบุบนเนมเพลท เช่น มอเตอร์ 12 โพลทำงานที่ 540 รอบ/นาที จะกินกระแสสูงกว่ามอเตอร์ 4 โพล ทำงานที่ความเร็วรอบ 1750 รอบ/นาที ถึงแม้ค่ากิโลวัตต์จะเท่ากัน หาค่าความเร็วรอบมอเตอร์เมื่อทำงานเต็มกำลัง  การเลือกมอเตอร์เพื่อขับโหลดอย่างเหมาะสม เราจะต้องทราบค่าความเร็วและแรงบิดที่โหลดต้องการ เพื่อใช้ในการคำณวนค่ากำลังของมอเตอร์ (กำลังมอเตอร์ <P> = แรงบิด <T> x ความเร็วรอบ <RPM>)

ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาช่วงความเร็วรอบ,ความร้อนและประสิทธิภาพของมอเตอร์

ความเร็วรอบสูงสุดของมอเตอร์สูงกว่าความเร็วที่ 50 Hz

โหลดแบบแรงบิดไม่คงที่ (Variable Torque Load) 
     การปรับตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อควบคุมดวามเร็วของปั๊มและพัดลม เราควรตั้งค่าความเร็วสูงสุด (HSP) ไว้ที่พิกัดของอัตราการไหลที่เราต้องการ หากเราตั้งค่าไม่เหมาะสมจะทำให้มอเตอร์และปั๊ม ทำงานโอเวอร์โหลด 

โหลดแบบแรงบิดคงที่ (Constant Torque Load)
     การปรับตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อควบคุมความเร็วของเครื่องจักรแบบต้องการแรงบิดคงที่ เช่น สายพานลำเลียงที่ระดับความเร็วสูงกว่า 50 Hz จำเป็นจะต้องตรวจสอบดูความสามารถของมอเตอร์ก่อนว่าตลับลูกปืนที่เพลามอเตอร์ทำงานได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องดูอีกว่าจะมีชิ้นส่วนอย่างอื่นหลุดกระเด็นออกจากเครื่องจักรมาทำอันตรายคนหรือไม่

ขั้นตอนที่ 4 แรงบิดตอนสตาร์ทของเครื่องจักร(Breakaway Torque)

     พิจารณาความต้องการแรงบิดตอนสตาร์ทของเครื่องจักร (Breakaway Torque) Breakaway Torque หมายถึง แรงบิดตอนสตาร์ทออกตัวที่เครื่องจักรต้องการจากมอเตอร์ เพื่อให้เครื่องจักรหมุนได้และเป็นตัวกำหนดค่ากระแสที่พิกัดของอินเวอร์เตอร์ด้วย ส่วนใหญ่จะบอกค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ของแรงบิดเมื่อเครื่องจักรทำงานเต็มที่ (Full Load)  Breakaway Torque ของเครื่องจักรแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน เมื่อเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ ต้องพิจารณาค่านี้เสมอ ถ้าหากเราเลือกค่านี้ผิด จะทำให้อินเวอร์เตอร์ทำงานไม่ได้และมอเตอร์จะไม่สามารถสตาร์ทออกตัวได้

ขั้นตอนที่ 5 การเร่งความเร็ว(Acceleration Requirement)

การเร่งความเร็วในช่วงเวลาที่ต้องการ (Acceleration Requirement) การเร่งความเร็วของมอเตอร์เพื่อให้เครื่องจักรเดินที่ความเร็วรอบที่ต้องการ มอเตอร์จะใช้ กระแสจากอินเวอร์เตอร์ ไปสร้างแรงบิดอีกชนิดหนึ่งเราเรียกว่า “Acceleration Torque ”


ข้อควรจำ สำหรับการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์เราจะต้องพิจารณา Acceleration Torqueให้ถูกต้อง ถ้าเราเลือกผิดจะมีปัญหาดังนี้ 
     1) การปรับตั้ง Acceleration Torque ผิดจะทำให้อินเวอร์เตอร์ตัดวงจร (Trip, Fault)
     2) หากปรับตั้ง Acceleration Torque สูงมากเกินไปจะทำให้เครื่องจักรเสียหายได้

ขั้นตอนที่ 6 การลดความเร็ว (Deceleration Requirement)

ในการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ ทำไมต้องพิจารณา Deceleration Torque ?
     1) ขณะมอเตอร์ลดความเร็ว มอเตอร์จะจ่ายพลังงานคืนให้กับระบบและตัวอินเวอร์เตอร์ดังนั้นถ้าเราตั้งค่าไม่ถูกต้องจะทำให้อินเวอร์เตอร์ตัดวงจร (trip, fault)
     2) แรงบิดขณะลดความเร็ว (Deceleration Torque) หากมีค่าสูงเกินไป สามารถทำให้เครื่องจักรเสียหายได้

ขั้นตอนที่ 7 สภาพแวดล้อมในการติดตั้งอินเวอร์เตอร์

สภาพแวดล้อมในการติดตั้งอินเวอร์เตอร์  เราจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆดังนี้ 
     1) อุณหภูมิรอบข้าง โดยปกติอุณหภูมิรอบข้างของอินเวอร์เตอร์จะถูกกำหนดไว้ที่ 0-50 องศาเซลเซียส หากท่านนำไปติดตั้งในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส ท่านจะต้องเพิ่มขนาดกิโลวัตต์ของอินเวอร์เตอร์ด้วย 
     2) ความชื้นในบริเวณที่ติดตั้ง 
     3) ความสามารถในการป้องกันฝุ่นและน้ำ (IP : Index of Protection)

- IP 20, 21(Altivar 12, 212, 312, 32, 61, 71)

ข้อดีของการใช้อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์

     - การสตาร์ทที่นุ่มนวล (Soft Start) 
     - ไม่มีการกระชากของกระแส (Inrush Current) 
     - สามารถปรับอัตราเร่งและอัตราหน่วงได้ (Adjustable Acceleration and Deceleration time) 
     - สามารถควบคุมได้จากระยะไกล (Remote Control) 
     - สามารถควบคุมการทำงานโดยกต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ 
     - มีระบบ Protection 
     - ประหยัดพลังงาน (Energy Saving) 
     - ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง (Reduce Maintenance Cost)

Altivar 12
Power range     single phase    100-120V
                        Single phase    200-240V
                        3 phase           200-240V
Motor range     0.18-4 KW

Altivar 312
Power range     Single phase    200-240V
3 phase            200-240V
3 phase            380-500V
Motor range     0.18-15 KW

Altivar 32
Power range     Single phase     200-240V
3 phase            380-500V
Motor range     0.18-15 KW
ออกแบบมาเพื่อช่วยลดพื้นที่ในตู้ ด้วยขนาด 45 มม. 

Altivar 61
Power range     Single phase& 3 phase     200-240V
3 phase            380-500V
Motor range     0.75-630 KW
เหมาะกับการใช้งานกับโหลดประเภท Variable Torque เช่น งานระบบระบายอากาศ งานปั๊ม เป็นต้น

Altivar 71
Power range     Single phase& 3 phase      200-240V
3 phase            380-500V
Motor range     0.75-500 KW
เหมาะกับการใช้งานกับโหลดประเภท Constant Torque เช่น งานรอก เครน งานคอนเวเยอร์ เป็นต้น

QR-ATM.png

แผนก  Automation

 

Email : sales.atm@pneumax.co.th

โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ 714 - 718

Line-ATM_Artboard 33.png
bottom of page