Article : Electric Diaphragm Pump “EVO Series”
top of page

Electric Diaphragm Pump  “EVO Series”

val1.jpg
val3.jpg
02.jpg

       Electric Diaphragm pump คือปั๊มไดอะแฟรมที่ใช้ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการทำงาน ซึ่งความสามารถในการใช้งานนั้น สามารถใช้งานสูบ-จ่ายของเหลวได้หลากหลายชนิด รวมทั้งสารเคมีได้เช่นเดียวกันกับ Double Diaphragm Pump ที่ใช้ลมเป็นต้นกำลังในการทำงาน เนื่องจากโครงสร้างของวัสดุตัวปั๊ม (Body) ที่สัมผัสของเหลวของ Electric Diaphragm pump มีให้เลือกทั้งแบบพลาสติกและโลหะ         

  • วัสดุตัวปั๊มกลุ่มโลหะ

    • Stainless Steel : เหมาะกับการใช้งานสำหรับสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนและของเหลวที่มีอุณหภูมิสูง

    • Aluminum : เหมาะกับการใช้งานของเหลวในกลุ่มน้ำมัน และ Solvents

    • Cast iron : เหมาะกับการใช้งานของเหลวที่มีค่า pH ระหว่าง 6 - 10

  • วัสดุตัวปั๊มกลุ่มพลาสติก

    • Polypropylene : เหมาะกับการใช้งานของเหลวหรือสารเคมีที่เป็นกรด-ด่างอ่อน

    • PVDF : เหมาะกับการใช้งานของเหลวหรือสารเคมีที่เป็นกรด-ด่างแก่ หรือที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง

       เนื่องจาก Electric Diaphragm pump มีการใช้ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการทำงาน จึงมีการออกแบบในส่วนของการควบคุมเพื่อให้เกิดความสะดวกและประสิทธิภาพต่อการใช้งานมากขึ้น

11.png

Features and Benefits

  • Inbuilt Control & Monitoring Capability

         มีการออกแบบโดยนำอินเวอร์เตอร์ (VFD) มาใช้งานร่วมเพื่อปรับรอบการหมุน ส่งผลให้สามารถปรับอัตราการไหลในการใช้งานได้ และหากต้องการปรับแรงดันการใช้งานสามารถปรับที่ค่าแรงบิด (Torque) ของมอเตอร์ได้อย่างสะดวกและง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการติดตั้ง Encoder บริเวณมอเตอร์ของปั๊ม ซึ่งทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดรอบการหมุนและส่งฟีดแบค (Feedback) กลับมาแสดงผลที่หน้าจอควบคุมอีกด้วย

12.jpg

         นอกจากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกมอเตอร์ของ Electric Diaphragm pump ได้ตามความต้องการและตามความเหมาะสมกับพื้นที่ที่นำปั๊มไปติดตั้งใช้งาน มีทั้งมอเตอร์ธรรมดา (Ordinary motor) สำหรับพื้นที่ทั่วไป และมอเตอร์กันระเบิด (Hazardous motor) สำหรับพื้นที่อันตรายที่เสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟได้ง่าย

13.jpg
  • True Deadhead Capability

         หากเกิดกรณีที่มีการบล็อควาล์วขาจ่าย Electric Diaphragm pump จะเข้าสู่โหมด Deadhead ซึ่งตัวปั๊มจะต้องการให้มอเตอร์รักษาค่าแรงบิด (Torque) เต็มที่ในสภาวะนั้น เมื่อมีการปลดบล็อควาล์วขาจ่าย ค่าแรงบิด (Torque) ที่คงไว้นั้นจะส่งผลให้ปั๊มสามารถทำแรงดันใช้งานตามความต้องการได้อย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าหากอยู่ในโหมด Deadhead ครบตามกำหนดระยะเวลาที่มีการตั้งไว้แล้ว แล้วไม่มีการแก้ไขการปลดบล็อควาล์วขาจ่ายเพื่อให้ปั๊มสามารถใช้งานได้ตามสภาวะปกติ ตัวปั๊มจะเข้าสู่ Sleep Mode เพื่อหยุดการทำงาน

 

  • Unique 3-Chamber Design

         มีการออกแบบหน้าปั๊มเป็น 3 หัว ทำให้เมื่อปั๊มทำงานนอกจากจะได้อัตราการไหลมากขึ้นแล้ว ของเหลวที่ออกมาภายนอกจะเกิดแรงกระเพื่อมน้อยลงและเกิดความราบเรียบภายในท่อมากขึ้น รวมทั้งบริเวณลูกสูบภายในปั๊มมีการออกแบบเป็นลูกสูบไฮดรอลิกที่มีการกักเก็บน้ำมันบริเวณลูกสูบ ส่งผลให้เมื่อปั๊มทำงานช่วยลดการเกิดการสึกหรอหรือการฉีกขาดให้ต่ำลง

14.jpg
  • Designed for Safety

         ในด้านของความปลอดภัย Electric Diaphragm Pump มีการออกแบบ Leak detection ซึ่งจะทำหน้าที่หยุดปั๊ม เมื่อตรวจพบการรั่วไหลที่อาจเกิดจากการแตกหรือเกิดความเสียหายที่แผ่นไดอะแฟรมภายในปั๊ม

16.jpg
15.jpg

         และเมื่อพูดถึงในด้านพลังงานหรือค่าไฟฟ้าที่ใช้งานสำหรับ Electric Diaphragm Pump มอเตอร์ที่ใช้งานสำหรับปั๊มนั้นมีขนาดเล็กกว่าส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่ใช้งานนั้นถูกลดกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ Double Diaphragm Pump ขนาดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น

  • Electric Diaphragm Pump ขนาด 1” ใช้มอเตอร์ขนาด 3 kW เปิดใช้งาน 10 ชั่วโมงต่อวัน

        ค่าไฟฟ้า(บาท) = 3 kW x 10 ชั่วโมง x 30 วัน x 4.7 + ค่า FT

        ค่าไฟฟ้าต่อเดือน = 4,230 บาท (**ยังไม่บวกค่า FT**)

        ค่าไฟฟ้าต่อปี = 50,760 บาท (**ยังไม่บวกค่า FT**)

  • Double Diaphragm Pump ขนาด 1” ซึ่งต้องใช้ปั๊มลมขนาด 7.5 kW ในการผลิตลมเพื่อใช้งาน และในการใช้งาน Double Diaphragm Pump เปิดใช้งาน 10 ชั่วโมงต่อวัน

        ค่าไฟฟ้า(บาท) = 7.5 kW x 10 ชั่วโมง x 30 วัน x 4.7 + ค่า FT

        ค่าไฟฟ้าต่อเดือน = 10,575 บาท (**ยังไม่บวกค่า FT**)

        ค่าไฟฟ้าต่อปี = 126,900 บาท (**ยังไม่บวกค่า FT**)

**โดยราคาค่าไฟเป็นราคาโดยประมาณ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามราคาค่าไฟต่อหน่วยในปัจจุบัน**

QR-VAL.png
bottom of page