Article : ทำความรู้จักกับ Cryogenic Valves
top of page

ทำความรู้จักกับ Cryogenic Valves 

Superlok.jpg
Cryogenic Valves 1.png
Cryogenic Valves 2.png
Cryogenic Valves 3.png
Cryogenic Valves 4.png

          Cryogenic Valves หรือที่เรียกกันว่า วาล์วแช่แข็ง ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานในสภาพที่มีความเย็นมากๆ จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับ Liquefied Natural Gas (LNG) หรือ Compressed Natural Gas (CNG) ตัวอย่างเช่น

Cryogenic Valves 5.png

          ในส่วนอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าช มักใช้งานเริ่มต้นที่อุณหภูมิ -327 องศาฟาเรนไฮต์ (-196 องศาเซลเซียส) นอกจากนี้ก๊าซบางชนิดที่ไม่ได้ระบุ “อุณหภูมิ” แต่ต้องการความดันที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติในการบีบอัดปริมาตร  Cryogenic Valves จะถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการขนถ่ายน้ำมันหรือก๊าซและจัดเก็บก๊าซในช่วงอุณหภูมิดังกล่าวได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

          ในปัจจุบัน Cryogenic Valves แตกต่างจากวาล์วมาตรฐานอื่นๆ เนื่องจากความสามารถในการทำงานได้อย่างสมบูรณ์ทั้งในอุณหภูมิที่ต่ำสุด -327 องศาฟาเรนไฮต์ (-196 องศาเซลเซียส) และที่ความดันสูงสุดที่ 2500 psi (172 bar)

Cryogenic Valves 6.png
Cryogenic Valves 7.png

เรามารู้จักการเปลี่ยนสถานะของแข็งเป็นของเหลว
         

         เมื่อสะสารถูกเปลี่ยนสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง เช่น น้ำแข็งเปลี่ยนเป็นน้ำ สถานะเปลี่ยนแต่ว่า โมเลกุลจะไม่เปลี่ยน จะมีความสัมพันธ์ของสถานะที่เกิดขึ้นนั้น ก็คือ โมเลกุลของของแข็งจะอยู่ชิดกัน เคลื่อนที่ได้ยากรูปร่างมักคงที่ไม่เปลี่ยน ส่วนโมเลกุลของของไหลโมเลกุลจะอยู่ห่างกันแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีน้อยและเคลื่อนที่ได้ง่ายกว่าของเหลวจึงสามารถไหลได้อย่างอิสระรูปร่างจะเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ

กฎของก๊าซ
1.ความดันกับการขยายตัวของก๊าซจะเป็นอัตราส่วนที่แน่นอนที่อุณหภูมิสัมบูรณ์
2.ปริมาตร และความดันสัมบูรณ์ของก๊าซมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราส่วนที่แน่นอนที่อุณหภูมิสัมบูรณ์
3.อุณหภูมิ และปริมาณ น้ำหนักก๊าซ มีการเปลี่ยนแปลงแบบผกผันที่ความดันสัมบูรณ์

Cryogenic Valves 8.png
Cryogenic Valves 9.png
Cryogenic Valves 10.png

ตัวอย่างของของเหลวที่ใช้ใน Cryogenic Valves
         

1.ไนโตรเจน (Nitrogen: N2)
         ไนโตรเจนเหลวจัดว่าเป็นก๊าซเฉื่อย, ไม่มีสี, ไม่มีกลิ่น, ไม่กัดกร่อน,

มีความเย็นยวดยิ่ง และไม่ติดไฟ อัตราการขยายตัวของไนโตรเจน 1: 694   ถ้าเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลบริเวณนั้นจะเป็นจุดอับออกซิเจน (การละลายของ ก๊าซออกซิเจนในอากาศจะต่ำกว่าระดับความจำเป็นในการหล่อเลี้ยงชีวิต) 

จะหายใจไม่ออก และถ้าบริเวณนั้นมีสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็จะตายในที่สุด

2.อาร์กอน (Argon: Ar)
         อาร์กอนเหลวจัดว่าเป็นก๊าซเฉื่อย, ไม่มีสี, ไม่มีกลิ่น, ไม่กัดกร่อน,

มีความเย็นยวดยิ่ง และไม่ติดไฟ อัตราการขยายตัวของไนโตรเจน 1: 840 

ถ้าเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลบริเวณนั้นจะเป็นจุดอับออกซิเจน จะหายใจไม่ออก และถ้าบริเวณนั้นมีสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็จะตายในที่สุด

3.ฮีเลี่ยม (Helium: He)       
         ฮีเลี่ยมเหลวจัดว่าเป็นก๊าซเฉื่อย, ไม่มีสี, ไม่มีกลิ่น, ไม่กัดกร่อน, มีความเย็นยวดยิ่ง และไม่ติดไฟ อัตราการขยายตัวของไนโตรเจน 1: 700 ถ้าเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลบริเวณนั้นจะเป็นจุดอับออกซิเจน จะหายใจไม่ออก และถ้าบริเวณนั้นมีสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็จะตายในที่สุด

4.ไฮโดรเจน (Hydrogen: H2)
                ไฮโดรเจนเหลว เป็นสารไวไฟ, ไม่มีสี, ไม่มีกลิ่น, ไม่กัดกร่อน และมีความเย็นยวดยิ่ง 700 ถ้าเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลบริเวณนั้นจะเป็นจุดอับออกซิเจน จะหายใจไม่ออก ตาย และเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดได้

Cryogenic Valves 11.png
Cryogenic Valves 12.png
Cryogenic Valves 13.png
Cryogenic Valves 14.png
Cryogenic Valves 15.png
bottom of page