Article : หลักการทำงานของ PRESSURE CONTROL/ FLOW CONTROL
top of page

หลักการทำงานของ PRESSURE CONTROL/ FLOW CONTROL/ POWER CONTROL

  ชุดควบคุมชนิดนี้อาศัยหลักการ Constant Power นั่นคือ เมื่อความดันต่ำสามารถจ่าย อัตราการไหลได้สูงและ เมื่อความดันสูงขึ้น ก็จะลดอัตราการจ่ายน้ำมันลง เพื่อให้สอดคล้องกับสูตร Power = (ความดัน x อัตราการไหล) / ค่าคงที่

 

ส่วนประกอบภายใน

      คล้ายกับ DFR Control แต่จะมีวาล์ว No.6 เพิ่มเติมเข้ามาซึ่งมีหน้าที่เป็นวาล์วปลดความดัน แต่ค่าความแข็งของสปริงจะถูก Link กับลูกสูบ No.3 และสามารถตั้งค่าได้ ค่าที่ตั้งนี้จะเป็นตัวควบคุม Power input ให้คงที่ โดยทั่วไปแล้ว ค่าที่ตั้งควรจะถูกตั้งค่ามาจากทางผู้ผลิตเรียบร้อยแล้ว เช่น 5 Kw หรือ 10 Kw

 

การทำงาน

      ชุดควบคุมประเภทนี้จำเป็นจะต้องมีวาล์วปลดความดัน (No.7) ภายนอกเสมอเนื่องจากเมื่อปั๊ม ลดอัตราการจ่ายน้ำมันสูงสุดแล้ว ก็ยังคงมีน้ำมันจ่ายออกมาประมาณ 10 % ของ Maximum Flow Rate การทำงานของชุดควบคุม DR, FR ยังคงเหมือนเดิม ตามรูปที่ 2 จะแสดงการทำงานของ FR control ซึ่งมี Concept เหมือนเดิมคือ รักษาความดันตกคร่อมระหว่าง Flow Control (No.8) ให้คงที่ แต่ข้อแตกต่างคือ เมื่อ Swash Plate ปรับอัตราการจ่ายลดลง ปลายด้านหนึ่งของ Swash Plate จะดันสปริงของวาล์ว No.6 ให้แข็งขึ้น

ตัวอย่างเช่น

      หากเราตั้งค่า Power Control ที่ 5 Kw และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับขนาด 5 kw จากรูปที่ 2 หากเราหรี่ Flow Control No.8 ให้ปั๊มจ่ายน้ำมันเพียง 80 % Swash Plate ก็จะปรับมุมเอียงให้น้อยลง ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มความแข็งของสปริงวาล์ว No.6 หากในขณะนั้น PG 2 = 90 บาร์ PG1 =104 บาร์ ซึ่งเมื่อแทนค่าจากสูตรแล้ว Power = 4.5 kw. วาล์ว No.6 จะยังไม่ทำงานขณะนั้น การทำงาน จะเหมือน FR Control ธรรมดา แต่ถ้าหากว่า PG 2 =110 บาร์ ซึ่งเมื่อแทนค่าจากสูตรแล้ว Power = 6 Kw. วาล์ว No.6 จะทำงานโดยการเปิดเพื่อระบายน้ำมัน Line No.10 ลง Drain Port ทำให้วาล์ว No.5 เปิดช่องทางให้น้ำมันไปเติมลูกสูบ 3 ส่งผลให้ Swash Plate ปรับมุมเอียงให้น้อยลงอย่างเป็นสัดส่วน กับความดันที่เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการจ่ายน้ำมันน้อยลงซึ่งเมื่อแทนค่าจากสูตรแล้ว Power = 5 Kw. คงที่เสมอ หากความดันเพิ่มขึ้นอีก Swash Plate ปรับมุมเอียงให้น้อยลงอีกแต่ถ้าหากความดันลดลง Swash Plate ปรับมุมเอียงให้มากขึ้นเพื่อจ่ายน้ำมันเข้าสู่ระบบมากขึ้นจะเห็นว่าอัตราการไหล และความดัน จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร Input Power จะคงที่เสมอ ( ตามรูปที่ 3 ) ส่วนในรูปที่ 4 แสดงการทำงานของ DR control ซึ่งมีลักษณะการทำงานดังที่กล่าวไปแล้ว


ข้อดีและข้อเสียของ DFLR CONTROL

ข้อดี

  • ประหยัดพลังงานของมอเตอร์ไฟฟ้า มากกว่า DR , DFR Control

  • สามารถปรับเปลี่ยนอัตราการไหลให้สัมพันธ์กับความดันได้อย่างต่อเนื่อง

  • เหมาะกับงานอัดชิ้นงานที่มีการยุบตัวและมีความหนาแน่นเปลี่ยนแปลง

  • ลดปัญหาของเพลาขับเสียหาย เนื่องจากแรงบิดที่เพลาปั๊มคงที่เสมอ

  • สามารถใช้กับมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กลงได้

ข้อเสีย

  • ราคาสูง

  • ต้องมีความรู้ในการปรับตั้ง และ ซ่อมบำรุง

  • น้ำมันที่ใช้ต้องมีความสะอาดสูง

  • น้ำมันที่ออกจาก Drain Line จะมีความร้อนสูง

 

หมายเหตุ 
- หาก Plug Line 10 (ตามรูปที่ 3) ปั๊มนี้จะกลายเป็น DFR Control
- หาก Unload Line 10 (ตามรูปที่ 3) ปั๊มนี้จะ Unload ที่ 14 บาร์ ตาม FR Control

แผนก  Filtration

 

Email : sales.ftr@pneumax.co.th

โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ 576 - 578

bottom of page