Article : DFR Constant Pressure and Flow Control
top of page

DFR Constant Pressure and Flow Control (A10VSO...DFR)

ส่วนประกอบภายใน

     ภายในมีลักษณะคล้ายกับ DR control แต่จะมีเพิ่มเติมขึ้นมา คือวาล์ว no.5 ซึ่งค่าของสปริงเท่ากับ 14 บาร์จากโรงงานผู้ผลิต (หากจำเป็นก็สามารถปรับตั้งได้ ) เมื่อวงจรใดต้องการปรับความเร็ว และ ต้องการความแม่นยำ และความคงที่ของความเร็ว control ประเภทนี้เหมาะอย่างยิ่ง

 

การทำงาน

     การทำงานอาศัยหลักการการรักษาความดันตกคร่อมระหว่างทางเข้า และทางออก ของ flow control โดยวาล์ว no.5 โดยที่วาล์ว no.5 จะ balance ความดันหน้าปั๊ม และความดันด้านหลังของตัวปรับความเร็วให้คงที่เสมอ ในรูปที่ 1 หากคลายตัวปรับความเร็วออกทำให้ความดันหน้าปั๊มไม่ถึง 14 บาร์ วาล์ว no.5 จะยังไม่ทำงาน ขณะนั้นปั๊มจะจ่ายอัตราการไหลสูงสุด ( ความดันตกคร่อมยังไม่ถึง 14 บาร์ ) ในรูปที่ 2 หากมีการหรี่ของ flow control เกิดขึ้น วาล์ว no.5 จะเริ่มทำงาน ( ต้องสร้าง load เทียมให้เกิน 14 บาร์ ) จากนั้นความดันตกคร่อมของ flow control จะเท่ากับ 14 บาร์ ตลอดเวลาที่ใช้งาน แม้ load จะเปลี่ยนแปลง โดยการควบคุมที่วาล์ว no.5 เช่น หากเราต้องการอัตราการไหลที่ 80% ของ max. flow เราทำการหรี่ flow control ในขณะที่ความดัน load = 11 บาร์บวกค่าสปริงที่ตั้งไว้ที่วาล์ว no.5 = 14 บาร์ ฉะนั้น หน้าปั๊มจะขึ้น 25 บาร์ ด้วยหลักการการรักษาความดันตกคร่อมระหว่างทางเข้า และทางออก ของ flow control ทำให้วาล์ว no.5 เคลื่อนที่เพื่อส่งน้ำมันจาก line 1เข้าไปที่ลูกสูบ no.3 เพื่อลดอัตราการจ่ายน้ำมันลงเหลือ 80% ตามการหรี่ของ flow control และถ้าหากต้องการหรี่น้ำมันที่ flow control มากขึ้น วาล์ว no.5 ก็จะส่งน้ำมันเข้าไปที่ลูกสูบ no.3 เพื่อลดการจ่ายน้ำมันให้มากขึ้นตามการหรี่น้ำมันที่ flow contro จะสังเกตุว่า swash plate จะปรับเปลี่ยนมุมของการจ่ายตามการหรี่ flow

     และถ้าหาก load มากขึ้นทำให้ความดันด้านหลัง flow control มากขึ้น ความดันนี้จะไปทำให้วาล์ว no.5 เคลื่อนที่กลับไปยังตำแหน่งเดิมเล็กน้อยส่งผลให้ลูกสูบ No.3 ระบายน้ำมันผ่านวาล์ว no.5 ลงถังเล็กน้อย swash plate ก็จะเอียงมากขึ้นเพื่อที่จะส่งอัตราการไหลมากขึ้นและจะรักษาความดันตกคร่อมของ flow control ให้คงที่เสมอ ซึ่งวาล์ว no.5 สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างเป็นสัดส่วนโดยอาศัยการสมดุลย์แรง 2 แรง คือ แรงที่เกิดจาก load บวกค่าสปริง และ แรงที่เกิดจากความดันหน้าปั๊มก่อนเข้า flow control เพื่อที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของลูกสูบ No.3 และส่งผลให้ swash plate ปรับอัตราการจ่ายน้ำมันตามการเคลื่อนที่ของลูกสูบ No.3 ( รูปที่ 2 ) หากความดันในระบบถึงค่าที่ตั้งไว้ที่ DR control ( ตามรูปแสดงที่ 3 ) จะสังเกตุว่า ความดันหน้าปั๊มขึ้นที่ 120 บาร์ แต่ความดันในระบบเท่ากับ 106 บาร์ เนื่องจากการ control ของ FR control อย่างไรก็ตาม หากความดันหน้าปั๊มถึงค่าที่ตั้งไว้ที่ DR control เมื่อไหร่วงจรของ DR control ก็จะทำงานทันที นั่นหมายความว่า หากต้องการความดันในระบบเท่าไหร่ จะต้อง set ที่ DR control เพิ่มขึ้นอีก 14 บาร์

 


ข้อดี-ข้อเสียของ DFR Control

ข้อดี

  •  ประหยัดพลังงานมากกว่า DR control เนื่องจากทั้งอัตราการไหล และความดันที่เกิดขึ้นใกล้เคียงกับ load จริง

  • ควบคุมอัตราการไหลที่ผ่าน flow control ได้คงที่ โดยไม่ขึ้นกับ load ที่เปลี่ยนไปทำให้ความเร็วของ Actuator คงที่

  • สามารถทำเป็น DR control ได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใดๆ

ข้อเสีย

  • ราคาสูง

  • ต้องมีความรู้ในการปรับตั้ง และ ซ่อมบำรุง

  • น้ำมันที่ใช้ต้องมีความสะอาดสูง

  • น้ำมันที่ออกจาก Drain line จะมีความร้อนสูง

 

**ข้อแตกต่างระหว่าง DFR และ DFR1 คือ 


- DFR control จะมี orific ระหว่าง line x กับ line drain ของวาล์ว no.5 ทำให้การตอบสนองช้ากว่า แต่มีความนิ่มนวลมากกว่า
- DFR1 control จะ plug ระหว่าง line x กับ line drain ของวาล์ว no.5 ทำให้การตอบสนองเร็วกว่า แต่มีความนิ่มนวลน้อยกว่า

QR-HYD.png

แผนก  Hydraulic

 

Email : sales.hyd@pneumax.co.th

โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ  575, 710

Line-HYD_Artboard 36.png
bottom of page